Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลผู้จัดทำ


ผู้จัดทำ



นาย บูรณพนธ์   สุขพิศาล  56170147
กลุ่มเรียน 06

เสนอ

อาจารย์ กฤษณะ  อิ่มสวาสดิ์

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 876211 Remote Sensing 1 (การสำรวจระยะไกล 1)
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

การแปลข้อมูลจากดาวเทียม


การแปลข้อมูลจากดาวเทียม

     ภายหลังจากที่เราดาวเทียมเริ่มทำการถ่ายภาพนั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ได้จะประกอบด้วยจุดภาพเล็กๆ(Pixel) ต่อเรียงกันเป็นเส้น (Line) หรือบรรทัด  บรรทัดหนึ่งๆ จะมีจำนวนจุดภาพเท่าใดนั้น  ก็ขึ้นอยู่ว่าข้อมูลได้มาจากดาวเทียมและระบบการบันทึกภาพอย่างไร  โดยทั่วไปแล้วการแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียมจะมุ่งเน้น  ที่การตีความหมายของกลุ่มจุดภาพ  (Group of pixel) ที่รวมกันอยู่   ซึ่งอาจแสดงรูปร่างที่มีขนาด (Size and Shape) แตกต่างกัน ตลอดจนความแตกต่างกันในเรื่องของระดับสีหรือสี (Tone or Color) ลักษณะเนื้อภาพ (Texture) รูปแบบการจัดเรียงตัวของวัตถุ (Pattern or Structure) และความแน่นทึบที่ต่างกัน ดังนั้นการแปลภาพด้วยสายตาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่กล่าวมา เพื่อให้การแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียมด้วยสายตา มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด


     

     การแปลความหมายจากดาวเทียม เป็นการวิเคราะห์และแปลความหมายภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแบ่งได้เป็น 2 วิธีการ คือ การแปลตีความภาพด้วยสายตาและการวิเคราะห์ข้อมูลภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะการแปลข้อมูลจาดาวเทียมด้วยสายตา ซึ่งการแปลความหมายจากข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตาเป็นวิธีการแปลความหมายจากข้อมูลภาพโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ การจำแนกข้อมูลวิธีนี้ มักจะประมวลและตีความข้อมูลที่ ได้จากภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพดาวเทียมเข้ากับข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลที่ ได้จากการสำรวจภาคสนาม หรือแผนที่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น ผู้ที่สามารถแปลตีความภาพได้ดีนั้นจะต้องอาศัยความรู้หลายสาขาวิชาเข้ามาเกี่ยวข้อง  เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตีความและวินิจฉัย  อาทิเช่น  ภูมิ ศาสตร์ เกษตร ธรณีวิทยา เป็นต้น  ซึ่งผู้แปลตีความที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
     1. ความรู้ภูมิหลัง (Background)  ถ้าผู้แปลตีความมีความรู้และประสบการณ์ในด้านนั้นอยู่ แล้วย่อมจะได้เปรียบผู้อื่นที่มาจากสาขาอื่น
     2. ความสามารถทางสายตา  (Visual Acuity) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้แปล  ไม่เป็นผู้พิการทางสายตา เช่น ตาบอด ตาบอดสี เนื่องจากการแปลตีความจำเป็นต้องอาศัยความสามารถทางด้านสายตาเป็นองค์ประกอบ เพราะต้องพิจารณารายละเอียดที่ ปรากฏในภาพ ลักษณะของเนื้อภาพ (Texture) ความเข้ม/สี  (Tone/Color) ผู้ที่มีสายตาดีย่อมสามารถจำแนกพื้นที่ได้ดีกว่า
     3. ความสามารถของจิตใจ (Mental Acuity) มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังและประสบการณ์  การเป็นคนใจเย็น รอบคอบ ชอบสังเกต จะทำให้สามารถแปลตีความได้ดี
     4. ประสบการณ์ (Experience) ผู้แปลตีความที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับลักษณะสภาพแวดล้อมหรือลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่หรือบริเวณที่ทำการแปลตีความจะช่วยให้สามารถแปลตีความและวินิจฉัยสิ่งที่ปรากฏในภาพได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์
     ดังนั้นหลักในการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากที่สุด ควรดำเนินงานตามขั้นตอน ดังนี้
          1) แปลตีความจากสิ่งที่เห็นชัดเจน  เข้าใจและวินิจฉัยง่ายที่สุดไปหายากที่สุด (Easy to difficulty)  เพื่อ หลีกเลี่ยงความรู้สึกท้อใจเบื่อหน่ายในการแปลตีความ โดยสิ่งที่ยากและสงสัยควรแปลตีความในภายหลัง
          2) แปลตีความจากสิ่งที่คุ้นเคยหรือพบเห็นในชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน  แล้วลงมือแปลสิ่งที่คุ้นเคยน้อยภายหลัง (Around to far) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้พื้นฐานของผู้แปลตีความ
          3) แปลตีความจากกลุ่มใหญ่ก่อน  แล้วจึงพิจารณาแยกรายละเอียดในแต่ละประเภท  ซึ่งเรียกว่าแปลตีความ จากหยาบไปหาละเอียด (Zone to Sub-Zone) ควรเริ่มจากประเภทการใช้ที่ดินระดับ I (level I) เช่น พื้นที่อยู่อาศัย, พื้นที่ทำการเกษตร, พื้นที่ป่าไม้และแหล่งน้ำ แล้วจึงจำแนกออกเป็นการใช้ที่ดินระดับII (level II) เช่น จำแนกพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็นนาข้าว พืชไร่ และพืชสวน หลังจากนั้นจึงจำแนกออกเป็นระดับIII (level III) เช่น จำแนกพืชสวนออกเป็น เงาะ ทุเรียน มะม่วง ต่อไป
          4) แปลตีความเรียงลำดับเป็นระบบให้ครบวงจร (Complete cycle) ในแต่ละประเภท ไม่ควรสลับไปมาปะปนกัน  เพราะจะทำให้รายละเอียดของข้อมูลไม่ต่อเนื่องกัน หรืออาจจะขาดหายไปได้
          5) แปลตีความโดยใช้ปัจจัยหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันอันเป็นพื้นฐานที่จะวินิจฉัยข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (Data association)  เช่น  การแปลตีความของแหล่งน้ำ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์สร้างไว้เพื่อการเพาะปลูกจะมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ต้องการน้ำ  เช่น หากเป็นที่เนินพื้นที่รับน้ำควรเป็นพืชสวน หากเป็นพื้นที่ราบพื้นที่รับน้ำ ควรจะเป็นนาข้าว  หรือพืชผักสวนครัว  เป็นต้น  ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสร้างอ่างเก็บน้ำ
     ดังนั้นการแปลตีความภาพจากดาวเทียม  หรือการใช้ภาพจากดาวเทียม เพื่อช่วยในการสำรวจด้านต่างๆ เช่น  ด้านการใช้ที่ดิน  การหาพื้นที่ป่าไม้  การหาพื้นที่ เกษตรกรรม และการสำรวจแหล่งแร่ เป็นต้น จะเอื้ออำนวยให้การสำรวจด้านนั้น ๆ สะดวกรวดเร็วขึ้น  การแปลตีความที่มีคุณภาพดีจะทำให้การสำรวจนั้นถูกต้องแม่นยำขึ้นด้วย ข้อมูลที่ได้รับจากภาพดาวเทียม เมื่อทำการวิเคราะห์แปลตีความแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          - ข้อมูลทางด้านปริมาณ (Quantitative Information) เป็นข้อมูลที่ผู้แปลสามารถนับจำนวน วัดหาระยะทาง หรือพื้นที่ออกมาเป็นตัวเลขได้จากการแปลตีความภาพถ่ายจากดาวเทียม
          - ข้อมูลทางด้านคุณภาพ (Qualitative Information) การที่ภาพหนึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และมองเห็นได้กว้างไกล (Synoptic view) ทำให้ได้ข้อมูลแบบกว้าง (Macro detail) ซึ่งข้อมูลในลักษณะนี้ จะเป็นที่ ต้องการและเหมาะสมในงานบางประเภท เช่น การวางแผนระดับภาค ซึ่งต้องการรายละเอียดแบบกว้างๆ และสามารถทำได้รวดเร็วโดยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศหลายประเภทที่ ไม่สามารถบ่งบอกได้ หากไม่พิจารณาดูแบบกว้าง ภาพจากดาวเทียม  การแปลตีความเพื่อให้ได้มาซึ่งเป็นข้อมูลทางด้านคุณภาพ เช่น การศึกษาลักษณะภูมิประเทศ(Landscape) รูปแบบลำน้ำ (Drainage pattern) หรือ ธรณีสัณฐาน (Geomorphology)  เป็นต้น  การแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อให้ได้แผนที่ เฉพาะเรื่อง(Thematic map) ด้วยเช่นกัน
     จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่าการแปลข้อมูลจากดาวเทียมจะช่วยให้ผู้นำข้อมูลไปใช้ในแต่ละสถานการณ์เข้าใจในรายละเอียดที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมมากขึ้น ดังเช่นตัวอย่างกรณี การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมในการประเมินความเสียหายจากอุทกภัย ปี 2553 ซึ่งช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการจัดเตรียมสิ่งของเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น

รายชื่อหน่วยงานด้านกิจการอวกาศของประเทศต่างๆ



หมายเหตุ มีหลายประเทศที่ไม่ได้ชื่อปรากฏในตารางด้านล่างนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นไม่มีบุคลากรหรือไม่มีสิ่งอำนวยการด้านกิจการอวกาศ เพียงแต่อาจจะยังไม่มีการบูรณาการจัดตั้งเป็นหน่วยงานด้านกิจการอวกาศขึ้นอย่างเป็นทางการ หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือ หน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของแต่ละประเทศ


หน่วยงานอวกาศ

ประเทศ

ก่อตั้งเมื่อ

ขีดความสามารถ

ชื่อ

อักษรย่อ

นักบิน อวกาศ

ควบคุม สั่งการดาวเทียม

จรวดนำส่งดาวเทียม

หน่วยงานนานาชาติ
United Nations Office for Outer Space Affairs
http://www.unoosa.org/
UNOOSAสหประชาชาติ13 ธันวาคม 1958---
United Nations Committee on the Peaceful Uses of Outer Space
http://www.unoosa.org/oosa/COPUOS/copuos.html
UNCOPUOSสหประชาชาติ12 ธันวาคม 1959---
Asia-Pacific Space Cooperation Organization
http://www.apsco.int/
(เดิมชื่อ Asia Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Applications : AP-MCSTA ก่อตั้งเมื่อ กุมภาพันธ์ 1992)
APSCOระดับนานาชาติ สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน28 ตุลาคม 2005--
Asia-Pacific Regional Space Agency Forum
http://www.aprsaf.org/
APRSAFระดับนานาชาติ โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่ม1993--

ทวีปเอเชีย
China National Space Administration
http://www.cnsa.gov.cn/n615709/cindex.html
CNSAสาธารณรัฐประชาชนจีน22 เมษายน 1993
Japan Aerospace Exploration AgencyJAXAญี่ปุ่น1 ตุลาคม 2003
Korea Aerospace Research Institute
http://www.kari.re.kr/eng/
KARIเกาหลีใต้10 ตุลาคม 1989
Indian Space Research Organization
http://www.isro.org/
ISROอินเดีย15 สิงหาคม 1969
Israeli Space Agency
https://www.facebook.com/IsraelSpaceAgency
ISAอิสราเอลเมษายน1983
Lembaga Antariksa dan Penerbangan Nasional
(National Institute of Aeronautics and Space)
http://www.lapan.go.id/
LAPANอินโดนีเซีย27 พฤศจิกายน 1964
Korean Committee of Space TechnologyKCSTเกาหลีเหนือ1980-
Pakistan Space and Upper Atmosphere Research CommissionSUPARCOปากีสถาน16 กันยายน 1961-
Iranian Space Agency
http://www.isa.ir/index.php
ISAอิหร่าน2003-
National Space Organization
http://www.nspo.narl.org.tw/en/
NSPOไต้หวันตุลาคม 1991-
Space Technology InstituteCNVT VAST-STIเวียตนาม20 พฤศจิกายน 2006-
Agensi Angkasa Negara
(Malaysian National Space Agency)
www.angkasa.gov.my
ANGKASAมาเลเซีย2002-
Azarbaycan Milli Aerokosmik Agentliyinin
(Azerbaijan National Aerospace Agency)
http://www.science.az/en/amaka/agentlik/index.htm
AMAKAอาร์เซอร์ไบจัน21 กุมภาพันธ์ 1974--
Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation
http://www.csiro.au
CSIROออสเตรเลีย1926--
Centre for Remote Imaging, Sensing and Processing
http://www.crisp.nus.edu.sg/
CRISPสิงคโปร์1995--
National Space Agency (KazCosmos)
Kazakh Space Research Institute
http://smiswww.iki.rssi.ru/
NSA (KazCosmos) SRIคาซัคสถาน1991--
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
http://www.gistda.or.th/gistda_n/
GISTDA
สทอภ
ไทย3 พฤศจิกายน 2002--
Space Affairs Bureau
สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ
http://www.space.mict.go.th
SAB
อช
ไทย15 กุมภาพันธ์ 1990--
Space Research Institute of Saudi
http://www.kacst.edu.sa/en/Pages/default.aspx
KACST-SRIซาอุดิอาระเบีย--
Vietnam Space CommissionVNSCเวียตนาม2008---
Sri Lanka Aeronautics and Space AgencySLASAศรีลังกา---
National Remote Sensing Center of MongoliaNRSCมองโกลเลีย1987---
Space Research and Remote Sensing Organization
http://sparrso.gov.bd/
SPARRSOบังคลาเทศ1980---

ทวีปยุโรป
European Space Agency
http://www.esa.int/
ESAกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป31 พฤษภาคม 1975
Centre National d’Etudes Spatiales
(National Center of Space Research)
http://www.cnes.fr/web/CNES-fr/6919-cnes-tout-sur-l-espace.php
CNESฝรั่งเศส19 ธันวาคม 1961
Russian Federal Space Agency
http://www.roscosmos.ru/#main.php?lang=en
เดิมชื่อ Soviet space program ก่อตั้งเมื่อ 1955 และดำเนินการถึง 1991
ROSCOSMOSรัสเชีย1992
Agenzia Spaziale Italiana
Italian Space Agency
http://www.asi.it/en
ASIอิตาลี1988
Instituto Nacional de Tecnica Aeroespacial
http://www.inta.es/
INTAสเปน1942
Deutsches Zentrum fur Luft- und Raumfahrt
(German Aerospace Center)
http://www.dlr.de.en/
DLRเยอรมัน1969
National Space Agency of Ukraine
http://www.nkau.gov.ua/nsau/nkau.nsf/Main1E/indexE?opendocument
NSAUยูเครน2 มีนาคม 1992
UK Space Agency
http://www.bis.gov.uk/ukspaceagency
UKSAสหราชอาณาจักร1 เมษายน 2010-
Swedish National Space Board
http://www.snsb.se/en/
SNSBสวีเดน1972-
Norsk Romsenter
(Norwegian Space Centre)
http://www.spacecentre.no/english/
NRS
NSC
นอร์เวย์1987-
Space Research Institute
Solar-Terrestrial Influences Institute
Bulgarian Space Agency
http://www.space.bas.bg/Eng/Eng.html
SRI-BAS
STIL-BAS
บัลกาเรีย1987-
TUBITAK Uzay Teknolojileri Arastirma Enstitusu (TUBITAK UZAY)
TUBITAK Space Technologies Research Institute
http://www.uzay.tubitak.gov.tr/tubitakUzay/en/root/
TUBITAK UZAYตุรกี1985-
Space Research Centre
http://www.cbk.waw.pl/
SRCโปแลนด์1977-
Romanian Space Agency
http://www.rosa.ro/index.php/en.html
ROSAโรมาเนียโรมาเนีย-
Hungarian Space Office
http://www.hso.hu/page.php?page=215
HSOฮังการีมกราคม 1992--
Institute for Space Applications and Remote Sensing
http://www.space.noa.gr/
ISARSกรีซ1955--
Belgian Institute for Space Aeronomy
http://www.aeronomie.be/en/index.htm
BISAเบลเยียม25 พฤศจิกายน 196--
Danmarks Tekniske Universitet – Institut for Rumforskning og -teknologi
(Technical University of Denmark – National Space Institute)
http://www.space.dtu.dk/english.aspx
DTU Spaceเดนมาร์ก1 มกราคม 2006-
Danmarks Rumcenter
(Danish National Space Center)
http://www.spacecenter.dk/
DRC
DNSC
เดนมาร์ก1 มกราคม 1968--
Dansk Rumforskningsinstitut
(Danish Space Research Institute)
http://www.dsri.dk/
DRKI
DSRI
เดนมาร์ก1 มกราคม 2005--
Belarus Space AgencyBSAเบรารุล2010--
Agentur fur Luft- und Raumfahrt
(Aeronautics and Space Agency; also Austrian Space Agency;
(Austrian Solar and Space Agency 1977–1987)
http://www.ffg.at/en/space
ALRออสเตรีย12 กรกฎาคม 1972---
Hrvatska svemirska agencija
(Croatian Space Agency)
HSA
CSA
โครเอเชียตุลาคม 2002---
Ministerstvo dopravy Ceske republiky
(Ministry of Transport of the Czech Republic - Space Technologies and Satellite Systems Department
Ministry of Transport of the Czech Republicสาธารณรัฐเช็ก2003---
Stichting Ruimteonderzoek Nederland
(Netherlands Institute for Space Research)
http://www.sron.nl/
SRONเนเธอร์แลนด์1983---
Gabinete do Espaco da FCT
(FCT Space Office)
http://www.fct.pt/apoios/cooptrans/espaco/index.phtml.en
FCT SOโปรตุเกส2009---
Swiss Space OfficeSSOสวิตเซอร์แลนด์--
Uzbek State Space Research Agency
(UzbekCosmos)
USSRA
(UzbekCosmos)
อุซเบกิสถาน2001---
Turkmenistan National Space Agencyเติร์กเมนิสถาน2011---
Lithuanian Space Association
http://www.space-lt.eu/
LSAลิทัวเนีย2007---

ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
National Aeronautics and Space Administration
http://www.nasa.gov/
NASAสหรัฐอเมริกา1 ตุลาคม 1958
Agence spatiale canadienne
(Canadian Space Agency)
http://www.asc-csa.gc.ca/eng/Default.asp
CSA
ASC
แคนาดา1 March 1989
Agencia Espacial Brasileira
(Brazilian Space Agency)
http://www.aeb.gov.br/
AEBบราซิล10 กุมภาพันธ์ 1994
Comision Nacional de Actividades Espaciales
(National Space Activities Commission)
เดิมชื่อ National Commission for Space Research ก่อตั้งเมื่อ 1961 และดำเนินการถึง 1991
http://www.conae.gov.ar/eng/principal.html
CONAEอาร์เจนตินา28 พฤษภาคม 1991-
Agencia Espacial Mexicana
(Mexican Space Agency)
http://www.aem.gob.mx/
AEMเม็กซิโก30 กรกฎาคม 2010-
Comision Colombiana del Espacio
(Colombian Space Commission)
http://www.cce.gov.co/web/guest/inicio
CCEโคลัมเบีย18 กรกฎาคม 2006-
Agencia Bolivariana para Actividades Espaciales
(Bolivarian Agency for Space Activities)
http://www.abae.gob.ve/
ABAEเวเนซุเอลา1 มกราคม 2008--
Comision Nacional de Investigacion y Desarrollo Aeroespacial
(National Commission for Aerospace Research and Development)
http://www.conida.gob.pe/
CONIDAเปรู11 มิถุนายน 1974--
Bolivian Space AgencyABAEโบลิเวีย2012---
Centro de Investigacion y Difusion Aeronautico-Espacial
(Aeronautics and Space Research and Diffusion Center)
CIDA-Eอุรุกวัย5 สิงหาคม 1975---

ทวีปแอฟริกา
Agence Spatiale Algerienne
Algerian Space Agency
http://www.asal.dz/
ASALอัลจีเรีย16 มกราคม 2002--
National Authority for Remote Sensing and Space Sciences
เดิมชื่อ Egypt Remote Sensing Center (EASRT-RSC) ก่อตั้งเมื่อ 1971 และดำเนินการถึง 1994
http://www.narss.sci.eg/
NARSSอียิปต์1994--
Centre national de teledetection
(National Remote Sensing Center of Tunisia)
http://www.cnt.nat.tn/
CNTตูนีเชีย1988---
National Space Research and Development Agency
http://nasrda.gov.ng/en/portal/
NASRDAไนจีเรีย1998--
Centre Royal de Teledetection Spatiale
(Royal Centre for Remote Sensing)
http://www.crts.gov.ma/
CRTSโมร็อคโค1989---
South African National Space Agency
http://www.sansa.org.za/
SANSAแอฟริกาใต้2011---


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา


ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น


ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาขึ้นสู่อวกาศดวงแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2503 ชื่อว่า TIROS1( Television and Infra-Red Observation Satellite ) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อประโยชน์ในการอุตุนิยมวิทยาในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่ดูแลการใช้ดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาอยู่ 2 หน่วยงานคือ NOAA ( National Oceanic and Atomospheric Administration ) และ SMC ( Air Force Space and Missile Systems Center ) โดย NOAA จะดูแลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งมีชื่อว่าดาวเทียม NOAA และดาวเทียม GOES สำหรับ SMC จะดูแลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหารโดยมีชื่อว่าดาวเทียม DMSP ซึ่งในอนาคตหน่วยงานทั้งสองนี้จะรวมกันเพื่อประหยัดงบประมาณ
สำหรับดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาสำหรับใช้งานทั่วไปนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ดาวเทียมที่มีวงโคจรค้างฟ้า (GOES) และดาวเทียมที่มีวงโคจรต่ำ (NOAA) สำหรับดาวเทียมที่มีวงโคจรค้างฟ้าที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันคือ GOES-10 (GOES-West) และ GOES-12 (GOES-East) ซึ่งโคจรอยู่เหนือประเทศสหรัฐอเมริกาทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของทวีปอเมริกา และมีดาวเทียม GOES-11 เพื่อใช้งานสำรองในกรณีที่ GOSE-10 หรือ GOES-12 ไม่ทำงาน ดาวเทียม GOES จะให้ภาพที่ต่อเนื่องซึ่งมีประโยชน์ในการติดตามพายุเฮอริเคน และพายุทอร์นาโด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเตือนภัยเมื่อเกิดพายุและยังสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของพายุได้อีกด้วย
ภาพต่อไปนี้แสดงพื้นที่ที่มองเห็นจากดาวเทียมทั้งสองดวงดังกล่าว

นอกจากดาวเทียมค้างฟ้าแล้วยังมีดาวเทียมวงโคจรต่ำอีกสองดวงเพื่อช่วยในการพยากรณ์อากาศโดยดวงแรกจะโคจรผ่านในเวลาเช้าและอีกดวงจะโคจรผ่านในเวลาบ่ายทั้งนี้เพื่อให้ได้รับข้อมูลอย่างน้อยทุก ๆ 6 ชั่วโมง ดาวเทียมวงโคจรต่ำมีเครื่องมือวัดหลายชนิดและมีอุปกรณ์หลักคือ อุปกรณ์ถ่ายภาพความละเอียดสูง ( AVHRR - Advanced Very High Resolution Radiometer ) ซึ่งจะถ่ายภาพด้วยจุดภาพขนาด 1.1 กิโลเมตร รวม 6 ช่องสัญญาณ และส่งสัญญาณกลับมายังโลกด้วยคลื่นวิทยุความถี่ 1700 MHz ซึ่งเรียกว่า HRPT นอกจากนี้ยงัส่งภาพที่มีความละเอียดต่ำด้วยจุดภาพขนาด 4 กิโลเมตร รวม 2 ช่องสัญญาณที่ความถี่ 137 MHz ซึ่งเรียกว่า APT ประเทศสหรัฐอเมริกายังมีกลุ่มดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์และสำรวจสภาวะแวดล้อม เช่น Terra , Aqua เป็นต้น
สหภาพยุโรปมีโครงการดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาโดยมีดาวเทียม METEOSAT จำนวน 3 ดวงอยู่เหนือทวีปยุโรปและมหาสมุทรอินเดียและยังมีดาวเทียมสำรองอีก 1 ดวง สำหรับดาวเทียมวงโคจรต่ำนั้นใช้สำหรับสำรวจสภาวะแวดล้อมมีชื่อว่าดาวเทียม ERSประเทศรัสเซียเคยมีดาวเทียมเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการอุตุนิยมวิทยา แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่หมดอายุการใช้งานและอยู่ในสภาวะเตรียมพร้อมเพื่อใช้สำรองเท่านั้น
ประเทศจีน มีดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาแบบทั้งค้างฟ้าชื่อว่า FY-2 ซึ่งได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ชื่อว่า FY-2A และได้พัฒนาเป็น FY-2B และ FY-2C ซึ่งส่งสัญญาณในแบบ CHRPT ซึ่งดัดแปลงมาจาก HRPT โดยการเพิ่มช่องสัญญาณจากเดิม 6 ช่องสัญญาณเป็น 10 ช่องสัญญาณ แต่ดาวเทียมแต่ดาวเทียมชุดนี้ยังมีเสถียรภาพในการทำงานที่ไม่ดีนัก และมีดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาแบบวงโคจรต่ำชื่อว่า FY-1 ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น FY-1D
ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมเพื่อการอุตุนิยมวิทยาแบบค้างฟ้าชื่อว่า GMS-5 ซึ่งโคจรเหนือเกาะญี่ปุ่นและถ่ายภาพครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย แต่ในปัจจุบันดาวเทียมดวงนี้ได้หยุดให้บริการแล้ว ซึ่งในประทศอินเดียมีดาวเทียมอุตุนิยมอเนกประสงค์แบบค้างฟ้า ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ด้านอุตุนิยมวิทยาได้รวม 3 ดวง ซึ่งโคจรอยู่เหนือประเทศอินเดีย ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดของดาวเทียมในแต่ละดวงได้จากตารางต่อไปนี้

แหล่งที่มาของข้อมูล :
1. http://www.wmo.ch
2. http://www.nasa.gov
3. http://www.isro.org
4. http://www.spacetech.com
5. http://nsmc.cma.gov.cn
6. http://space.skyrocket.de

ตารางดาวเทียมค้างฟ้าสำหรับอุตุนิยมวิทยา
บริเวณ
ดาวเทียม /ชนิด
เจ้าของ
ตำแหน่ง
วันที่ส่ง
สถานะ
แปซิฟิกตะวันออก
(180°W-108°W)
GOES-10 (Op)USA/NOAA135°W04/2540ทำงานได้บางส่วน
แอตแลนติกตะวันตก
(108°W-36°W)
GOES-12 (Op)USA/NOAA75°W07/2544ทำงานปกติ
GOES-11 (B)USA/NOAA103°W05/2543สำรองให้ GOES-10, -12
แอตแลนติกตะวันออก
(36°W-36°E)
METEOSAT-7 (Op)EUMETSAT09/2540ทำงานปกติ
METEOSAT-8 (Op)EUMETSAT3°W08/2545ทำงานปกติ
METEOSAT-6 (B)EUMETSAT9°E11/2536ทำงานได้ไม่ค่อยดี
มหาสมุทรอินเดีย
(36°E-108°E)
METEOSAT-5 (Op)EUMETSAT63°E03/2534IODCทำงานแต่ว่าอยู่ในโหมดมุมเอียงสู
FY-2B (Op, L)China105°E06/2543ช้ได้เฉพาะ hemispheric scanning เท่านั้นตั้งแต่ 06/2546หยุดการส่งรูปภาพในช่วงบดบัง
FY-2A (B, L)China87°E06/2540-
FY-2C (P)China105°E10/2547-
INSAT-2E (Op)India83°E04/2542ดาวเทียมทำงานอเนกประสงค์
INSAT-3A (Op)India94°E04/2546ดาวเทียมทำงานอเนกประสงค์
KALPANA (Op)India83°E12/2545-
GOMS/Electro N1 (B)Russia76°E11/2537ตั้งแต่ 09/2541อยู่ในสถานะเตรียมพร้อม
แปซิฟิกตะวันตก
(108°E-180°E)
GOES-9 (Op)USA/NOAA155°E05/2538ให้ข้อมูลสำหรับประเทศญี่ปุ่น
GOES-8 (B, L)USA/NOAA165°E04/2537สำรองให้ GOES-9
GMS-5 (Op, L)Japan140°E03/2538สำรอง GMS-5 ด้วยGOES-9 เริ่มเมื่อ 05/2546
หมายเหตุ P = ทดลองการทำงาน
             OP = ทำงาน
             B = สำรอง
             L = ใช้งานได้จำกัด

ตารางดาวเทียมค้างฟ้าในอนาคต 
บริเวณ
ดาวเทียม /ชนิด
เจ้าของ
กำหนดส่ง
ตำแหน่งที่กำหนด /ข้อมูลอื่นๆ
แปซิฟิกตะวันออก
(180°W-108°W)
และแอตแลนติกตะวันตก
(108°W-36°W)
GOES-NUSA/NOAA02/254875°W
GOES-OUSA/NOAA04/255075°W
GOES-PUSA/NOAA10/2551135°W
GOES-RUSA/NOAA10/2555135°W
แอตแลนติกตะวันออก
(36°W-36°E)/td>
MSG-2EUMETSAT06/25480°, เป็น METEOSAT-9 เมื่อทำงาน
MSG-3EUMETSAT06/25510°, เป็น METEOSAT-10 เมื่อทำงาน
MSG-4EUMETSAT12/25540°, เป็น METEOSAT-11 เมื่อทำงาน
มหาสมุทรอินเดีย
(36°E-108°E)
Elektro-LRussia12/254976°E
INSAT-3DIndia07/254983°E, แยกการทำงานอุตุนิยม
FY-2DChina12/2549105°E, ตัวพัฒนาของ FY-2 series
FY-2EChina12/2549105°E, ตัวพัฒนาของ FY-2 series
แปซิฟิกตะวันตก
(108°E-180°E)
MTSAT-1RJapan02/2548140°E, ดาวเทียมอเนกประสงค์
MTSAT-2Japan02/2549140°E, สำรอง MTSAT-1R จนถึง 2552


ตารางดาวเทียมวงโคจรขั้วโลกสำหรับอุตุนิยมวิทยาในอนาคต 
บริเวณ
ดาวเทียม /ชนิด
เจ้าของ
กำหนดส่ง
ตำแหน่งที่กำหนด /ข้อมูลอื่นๆ
Sun-synchronous
"ช่วงเช้า"
(06:00 - 12:00)

(18:00 - 24:00)
METOP-1EUMETSAT12/2548(840 km) (09:30 D) AHRPT
METOP-1EUMETSAT12/2552(840 km) (09:30 D) AHRPT
METOP-1EUMETSAT06/2557(840 km) (09:30 D) AHRPT
FY-3AChina01/2549(09:30) ชุดดาวเทียม 7 ดวง
FY-3BChina12/2549(09:30)
METEOR-3M N2Russia12/2548(1024km) (09:15, 10:30 or 16:30 A)
DMSP F-16USA/NOAA10/2546(833km) (21:32 A)
DMSP F-18USA/NOAA10/2550(850km) (A)
NPPUSA/NOAA10/2549(833km) (21:30 D)
NPOESS-1USA/NOAA11/2552(833km) (21:30 D)
NPOESS-4USA/NOAA11/2558(833km) (10:30 D)
Monitor-ERussia04/2548(540km) (05:40)
GOCEESA02/2549(250km) (Dawn-dusk)
SMOSESA02/2550(756km) (06:00 A)
ADM-AeolusESA10/2550(408km) (18:00 A)
Sun-synchronous
"ช่วงบ่าย"
(12:00 - 16:00)

(00:00 - 04.00)
NOAA-NUSA/NOAA02/2548(870km) (14:00 A)
NOAA-N'USA/NOAA11/2551(870km) (14:00 A)
NPOESS-2USA/NOAA06/2554(833km) (13:30 A)
NPOESS-5USA/NOAA01/2561(833km) (13:30 A)
GCOM-CJapan01/2553(800km) (13:30 A)
GCOM-WJapan01/2552(800km) (13:30 A)
Sun-synchronous
"เช้าตรู่"
(04:00 - 06:00)

(16:00 - 18:00)
DMSP F-17USA/NOAA04/2548(850km) (A)
DMSP F-19USA/NOAA04/2552(850km) (A)
DMSP F-20USA/NOAA10/2554(850km) (A)
NPOESS-3USA/NOAA06/2556(833km) (17:30 A)
NPOESS-6USA/NOAA05/2562(833km) (17:30 A)
Non Sun-synchr.
CRYOSATESA03/2548(717km)
Resurs-01 N5Russia01/2548(680km)
Resurs DKRussia06/2548(480km)
Sich-1MRussia/Ukraine12/2547(650km)
GPM ConstellationUSA/NASA11/2553(600km)


ตารางดาวเทียมวงโคจรแนวขั้วโลกสำหรับอุตุนิยมวิทยา 
ชนิดวงโคจร
ดาวเทียม/โหมด
เจ้าของ
เวลาบรรจบ /ความสูง
เวลาที่ส่ง
สถานะ
Sun-synchronous
"ช่วงเช้า"
(06:00 - 12:00)

(18:00 - 24:00)
NOAA-17 (Op)USA/NOAA10:00 (D), 833 กม.06/2545ทำงานปกติ
NOAA-15 (B)USA/NOAA07:08 (D), 813 กม.05/2541ทำงานปกติ ( มีปัญหากับ AVHRR + HIRS)
NOAA-14 (B)USA/NOAA17:52 (A), 850 กม.12/2537ทำงานปกติ OBP อันหนึ่ง ไม่ทำงาน
NOAA-12 (L)USA/NOAA04:49 (D), 850 กม./td>05/2534ทำงานปกติ (ยกเว้น sounding)
NOAA-11 (L)USA/NOAA22:37 (A), 845 กม.09/2531ทำงานปกติ SBUV ให้ข้อมูลจำกัด
DMSP F-15 (Op)USA/NOAA20:29 (A), 833 กม.12/2542ดาวเทียมทางการทหารให้ข้อมูลสาธารณะผ่าน NOAA
DMSP F-14 (B)USA/NOAA20:29 (A), 833 กม.04/2540ดาวเทียมทางการทหารให้ข้อมูลสาธารณะผ่าน NOAA
FY-1D (Op)China09:00 (D), 863 กม.05/2545ทำงานปกติ
FY-1C (B)China08:50 (D), 863 กม.05/2542ทำงานปกติ
SPOT-5 (R)CNES10:30 (D), 800 กม.05/2545ทำงานปกติ
Envisat (R)ESA10:30 (D), 782 กม.03/2545ทำงานปกติ
ERS-1 (R)ESA10:30 (D), 782 กม.07/2534ถูกทดแทนด้วย ERS-2 เมื่อ 03/2543 หลังจากซ้อนทับคาบเวลากัน
ERS-2 (R)ESA10:30 (D), 782 กม.04/2538เนื่องจากปัญหาตัวบันทึก OB เมื่อ 06/2546 ทำให้การทำงาน LBRแน่นอนเมื่อสั่งจากสถานี ESA เท่านั้น
QuikSCAT (R)USA/NASA06:00 (D), 803 กม.06/2542ทำงานปกติ
Terra (R)USA/NASA10:30 (D), 705 กม.12/2542ทำงานปกติ
Sun-synchronous
"ช่วงบ่าย"
(12:00 - 16:00)

(00:00 - 04.00)
NOAA-16 (Op)USA/NOAA13:54 (A), 870 กม.09/2543ทำงานปกติ
Aqua (R)USA/NOAA13:30 (A), 705 กม.05/2545ทำงานปกติ
Sun-synchronous
"เช้าตรู่"
(04:00 - 06:00)

(16:00 - 18:00)
DMSP-F13 (Op)USA/NOAA18:12 (A), 833 กม.03/2540ดาวเทียมทางการทหารให้ข้อมูลสาธารณะผ่าน NOAA
Non Sun-synchr.
METEOR-3M N1 (Op)Russia(A) 1018 กม.12/2544ทำงานปกติ
METEOR-3 N5 (Op)Russia(A) 1200 กม.08/2534ทำงานปกติ (APT ส่งภาพที่ตามองเห็นได้)
TRMM (R)USA/NASA350 กม.11/2540ทำงานปกติ
Jason-1 (R)CNES1336 กม.12/2544ทำงานปกติ
หมายเหตุ OP = ทำงาน
             B = สำรอง
             L = ใช้งานได้จำกัด
             R = วิจัยและพัฒนา
             A = มาจากทางทิศเหนือ
             D = มาจากทางทิศใต้

ตารางดาวเทียมวงโคจรแนวขั้วโลกสำหรับอุตุนิยมวิทยา 
- แบบ GEO-Stationary ดาวน์โหลด
- แบบ Polar Orbit ดาวน์โหลด 


ที่มา http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=meteo